โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จับมือ สมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา เปิดงาน Koyori Project 2021 ดึงผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมนักศึกษา เพิ่มมูลค่าสินค้าสู่มาตรฐานสากล | กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 34 ล้านนาเกมส์

มทร.ล้านนา จับมือ สมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา เปิดงาน Koyori Project 2021 ดึงผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมนักศึกษา เพิ่มมูลค่าสินค้าสู่มาตรฐานสากล

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 29 มีนาคม 2564 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

            วันที่ 28 มีนาคม 2564  ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการวิจัย  “การอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองสำหรับตลาดในยุค New Normal" (Creative Design Competency Enhancement of Local Craft Entrepreneurs for New Normal Market Workshop) (Koyori Project 2021) 8 จังหวัด ภาคเหนือ  (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)  โดยมี รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ณ ห้องประชุมโพธิพุทธ ชั้น 4 อาคารเรียนรวมและศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาล้านนา  คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (เจ็ดยอด) จ.เชียงใหม่ อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสัญญาณสดไปยังห้องประชุมที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย

              สําหรับ “การอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองสําหรับตลาดในยุค New Normal”นี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการเรื่อง “การยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทาง วัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่า ของผลิตภัณฑ์” ซึ่งสํานักงานการวิจัยแห่งชาติได้ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนาดําเนินการ โดยมี ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา เป็นหัวหน้าโครงการเพื่อเป็นพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองใน เขตภาคเหนือตอนบน ให้มีความคิด สร้างสรรค์ สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองที่มี ความแตกต่างและโดดเด่นที่ตรงกับความต้องการของตลาดในยุค New Normal โดยใช้นวัตกรรมและ วัฒนธรรมสร้างสรรค์ศึกษาความต้องการทางการตลาดของสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองในยุค New Normal และการพัฒนา ช่องทางการตลาดที่เหมาะสมกับตลาดหัตถกรรมยุค New Normal สำหรับผู้ประกอบการหัตถกรรมในเขตภาคเหนือด้วยกระบวนการ Tailor Made Consulting and Workshop เพื่อยกระดับของห่วงโซ่มูลค่าของ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน โดยสมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา ลงพื้นที่การอบรมเพิ่มทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการ Koyori โดยดึงเอาจุดเด่นของวัฒนธรรมในแต่ละผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผสมผสานกับแนวคิด การออกแบบแฟชั่น ดีไซน์ที่เป็นระบบจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจากไทยและต่างชาติ นักออกแบบไทย นักศึกษาใน ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง โดยเทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้มีความร่วมสมัยและแสดงออกถึงทักษะอันโดดเด่นของครูช่าง ไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งในปี 2564 นี้ มีนักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาร่วมในโครงการครั้งนี้ และมีการบรรยายทางไกลผ่านระบบ Zoom โดย Professor  Tatsuya  Wada Dean of Educational Affairs,Tama Art University, Japan และการบรรยายหัวข้อ “การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการออกแบบเชิงสร้างสรรค์”โดย ศาสตราจารย์(วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิตผู้ว่าการสถาบันวิจัยและพัฒนา (วว.)

              ภายหลังพิธีเปิดงาน รัฐมนตรีพร้อมคณะได้เยี่ยมชมผลงานของอาจารย์และนักศึกษา มทร.ล้านนา ที่นำมาจัดแสดง อาทิ การสาธิตหุ่นยนต์ผัดไทย โดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ การนำเสนอ ผลงานวิจัย ผลงานเด่น ของอาจารย์ นักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ผลิตภัณฑ์สารชีวภัณฑ์เพื่อการผลิตพืชปลอดภัยของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ผ้าโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา

ชมประมวลภาพเพิ่มเติมที่ KOYORI Project 2021

ถ่ายภาพ  /วิทยา กวีวิทยาภรณ์ นักประชาสัมพันธ์

                อภิญญา พูลทรัพย์ นักประชาสัมพันธ์

                 กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา